เมนู

เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์
มีอุปัทวะด้วยอุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อกุศลธรรมอันลามก
เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก
เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูก่อนอานนท์
อย่างนี้แล อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้.
ดูก่อนอานนท์ ในอุปัทวะทั้ง 3 นั้น อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหม-
จรรย์นี้ มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัทวะของอาจารย์และ
อุปัทวะของศิษย์ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้น
แล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็น
ข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอด
กาลนาน.
[355] ดูก่อนอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความ
เป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ศาสดา
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี้เพื่อความ
สุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิต
รับรู้และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เหล่า
สาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความ
เป็นมิตร.

ว่าด้วยมิตรปฏิบัติ


[356] ดูก่อนอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความ
เป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ศาสดา

ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี้เพื่อ
ความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ
ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติหลีกเลียงคำสอนของศาสดา ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล
เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความ
เป็นข้าศึก.
ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความ
เป็นมิตร อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ดูก่อนอานนท์ เราจักไม่
ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยัง
ดิบ ๆ อยู่ เราจักข่มแล้ว ๆ จึงบอก จักยกย่องแล้ว ๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร
ผืนนี้ จักตั้งอยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ มหาสูญญตสูตรที่ 2

อรรถกถามหาสูญญตาสูตร



มหาสุญญตาสูตร1 มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬเขมกสฺส ความว่า เจ้าศากยะนั้น
มีผิวดำ. ก็คำว่า เขมโก เป็นชื่อของเจ้าศากยะนั้น. บทว่า วิหาโร หมายถึง
ที่พักซึ่งเจ้าศากยะล้อมรั้ว ณ ประเทศแห่งหนึ่ง ใกล้นิโครธารามนั้นแหละ
สร้างซุ้มประตู ประดิษฐานเสนาสนะรูปหงส์เป็นต้นและมาลมณฑลโรงฉัน
เป็นต้น สร้างไว้. บทว่า สมฺพหุลานิ เสนาสนานิ ได้แก่ เตียง ตั่ง
ฟูก หมอน เสื่อ ท่อนหนัง สันถัตที่ทำด้วยหญ้า สันถัดที่ทำด้วยใบไม้
สันถัดที่ทำด้วยฟางเป็นต้น ซึ่งเขาปูลาดไว้ คือ ตั้งเตียงจดเตียง ฯลฯ ตั้ง
สันถัดที่ทำด้วยฟาง จดสันถัดที่ทำด้วยฟางเหมือนกัน . ได้เป็นเหมือนที่อยู่ของ
ภิกษุที่อยู่กัน เป็นคณะ. บทว่า สมฺพหุลา นุโข ความว่า ขึ้นชื่อว่า ความ
สงสันย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพราะพระองค์ทรงถอนกิเลสทั้งปวงได้แล้ว
ที่โพธิบัลลังก็นั้นแล. ปุจฉาที่มีวิตกเป็นบุพภาคก็ดี และนุอักษรที่มีวิตกเป็น
บุพภาคก็ดี เป็นเพียงนิบาต เมื่อถึงวาระพระบาลี ย่อมเป็นอันไม่ต้องวินิจฉัย.
ได้ยินว่า ก่อนหน้าแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่เคยทอดพระเนตร
เห็นภิกษุทั้งหลายจะอยู่ในที่เดียวกัน ถึง 10 รูป 10 รูป.
ครั้งนั้น พระองค์ได้มีพระดำริดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การอยู่เป็นคณะนี้
ได้ประพฤติปฏิบัติกัน มาในวัฏฏะแล้ว เหมือนน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำ และการอยู่
เป็นคณะก็ได้ประพฤติกันมาแล้วในนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ปิตติวิสัย
และอสุรกายก็มี ในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลกก็มี นรกหมื่นโยชน์
แน่นไปด้วยสัตว์ทั้งหลาย เหมือนทะนานที่เต็มไปด้วยผงคีบุก เหล่าสัตว์ใน
1. พระสูตรเป็น มหาสุญญตสูตร